วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ยุค 5G,6G Iot,AI

  5G,6G,Iot,AI


ตกลง 5G คืออะไร?

ก่อนที่จะไปถึง 5G เราเริ่มจาก 1G ก่อน ยุคนั้นเป็นยุคที่เราคุยกันผ่านเสียงผ่านมือถือระบบอนาล็อก จนเราส่งข้อความ MMS หากันได้ในยุค 2G จากนั้นเราก็เข้าสู่ยุค 3G ที่เราเชื่อมต่อและเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นระหว่าง 20 kbps ถึง 42.2 Mbps และเข้ามาถึงยุค 4G  ที่เราสามารถดูภาพและเสียงหรือหนังออนไลน์พอได้เพราะความเร็วที่เพื่มขึ้นเช่น 4G LTE (100 Mbps), 4G LTE Cat.4 (150 Mbps) และ 4G LTE Advanced (1,000 Mbps)

ประโยชน์ของ 5G

สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์



6G คืออะไร

แม้จะยังอยู่ในช่วงพัฒนา
แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า ความเร็วของ 6G จะเร็วกว่า 5G ถึง 8,000 เท่า
ซึ่งให้ความเร็วได้ถึง 8,000 Gigabit ต่อวินาที
ถ้าให้พูดง่ายๆ คือ เราจะสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์รวมกันยาว 142 ชั่วโมง ได้ภายในเวลา 1 วินาทีเท่านั้น…ซึ่งด้วยความเร็ว ณ ระดับนี้จึงทำให้มีการคาดการณ์กันว่า เทคโนโลยี 6G จะถูกนำมาใช้กับ อุปกรณ์ที่เราสามารถสั่งงานได้ผ่านสมองของเรา โดยที่เราไม่ต้องพิมพ์ หรือพูดอีกต่อไปแล้วเราจะได้ใช้ 6G เมื่อไหร่?มีการคาดการณ์กันว่า เราจะสามารถใช้ 6G ได้ในปี 2030หรืออีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า

6G ดีกว่าอย่างไร

ซึ่งความแตกต่างอันดับ 1 ก็คือในเรื่องของความเร็ว โดยในปัจจุบันนี้ 6g กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา แต่ก็มีการวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าความเร็วของ 6g นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1 TERABIT/วินาที หรือพูดง่ายๆ ก็คือประมาณ 100 เท่าของ 5g และจะมีในเรื่องของ AI เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สำหรับความเร็วในระดับนี้จะทำให้การประมวลผลของ AI เชื่อมต่อการทำงานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความสามารถในการช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้งานได้ทันที ถึงแม้ปัญหานั้นจะมีความซับซ้อนมากก็ตาม ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ในเมือง NEW YORK ประเทศสหรัฐอเมริกาใน 1 วันจะมีรถยนต์จำนวนประมาณ 3 ล้านคันวิ่งเข้าออกในเมืองหลวงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสมองกล AI จะทำการประมวลผล เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาในเรื่องของรถติดจำนวนมหาศาล


IOT คืออะไร

หมายถึง วัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งของเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีการฝังตัวของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ซึ่งวัตถุสิ่งของเหล่านี้ สามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ อีกทั้ง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จากระยะไกล ผ่านโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ IoT สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ทุกอย่างที่ถูกออกแบบมาให้เชื่อมโยงกันได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะสามารถสื่อสารกันได้



link ที่เกี่ยวข้อง : https://www.uih.co.th/th/knowledge/5g

                     

Big Data


Big Data คือ ?? | ในยุคปัจจุบันที่โลกและธุรกิจกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล จนทำให้คำว่า Big Data มีผู้คนสนใจและเป็น Trend ที่กำลังมามาแรงอย่างมาก และเชื่อว่าหลายๆ คนที่ทำงานอยู่ในวงการไอที หรือสายงานอื่นๆก็ตาม ก็คงได้ยินคำว่า Big Data ผ่านหูกันมาบ้างแล้ว เคยเกิดความสงสัยกันบ้างไหมว่า Big data มันคืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ กันครับ

Big Data คือ 

บิ๊กดาต้า (Big Data) คือคำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะ

 

คุณลักษณะของ Big Data(4V)

Big Data คือ

  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ 


link ที่เกี่ยวข้อง: https://www.tereb.in.th/erp/big-data-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

                       https://www.youtube.com/watch?v=ZGQv6myRkSY

วิทยาการข้อมูล

 



วิทยาการข้อมูล (Data Science)

ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานข้อมูลว่าประสบปัญหาขาดแคลนผู้มีทักษะการวิเคราะห์เชิงลึก และการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อให้ได้ข้อมูลผลลัพธ์ที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร การทำงานในลักษณะนี้ ต้องอาศัยความรู้และทักษะผสมผสานศาสตร์หลายด้านเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า “วิทยาการข้อมูล”

-วิทยาการข้อมูล เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ วิธีการ หรือเทคนิค ในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาประมวลผล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ เข้าใจปรากฏการณ์ ใช้ตีความ ทำนาย พยากรณ์ ค้นหารูปแบบ แนวโน้มจากข้อมูล และสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอด เพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด

Image for post


กระบวนการวิทยาการข้อมูล (Data Science Process)

การใช้ข้อมูลมาช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น นอกจากความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว ยังต้องอาศัยกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อบกับการจัดหาและประมวลผลข้อมูลอีกด้วย

กระบวนการของวิทยาการข้อมูลประกอบไปด้วย

  1. การตั้งคำถาม (ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ)
  2. การเก็บรวบรวมข้อมูล (คำนึงถึงว่าเก็บข้อมูลเรื่องอะไร จากที่ไหน จำนวนเท่าใด ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูล กำจัดข้อมูลที่ผิดหรือไม่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าที่ดี ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีตามไปด้วย)
  3. การสำรวจข้อมูล (ทำความเข้าใจรูปแบบและค่าของข้อมูล การทำข้อมูลเป็นภาพหรือแผนภูมิ เพื่อให้มองเห็นความหมายของข้อมูลที่ซ่อนเร้นอยู่)
  4. การวิเคราะห์ข้อมูล (อธิบายความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูล ทำนายเหตุการณ์ในอนาคต)
  5. การสื่อสารและทำผลลัพธ์เป็นภาพสู้ผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย (สื่อสารผลลัพธ์ของข้อมูล โดยการถ่ายทอดเป็นเรื่องราวหรือภาพ)